สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย
สภาพทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองพะเยา
ห่างจากอำเภอเมืองพะเยา 17 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 163 ตารางกิโลเมตร 101,875 ไร่ มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา และอำเภอดอกคำใต้
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา และอำเภองาว จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอดอกคำใต้
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลแม่ต๋ำ และตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
องค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย มีพื้นที่ในเขตการปกครอง จำนวน 13 หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน รวม 3,340 ครัวเรือน
จำนวนประชากรในตำบล รวม 8,429 คน แยกเป็นชาย 4,096 คน หญิง 4,333 คน
(ที่มา : สำนักทะเบียนและบัตรอำเภอเมืองพะเยา , ตุลาคม 2564 )
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ได้ดังนี้
หมู่ที่ |
ครัวเรือน |
ชาย |
หญิง |
รวม |
1 |
224 |
303 |
318 |
621 |
2 |
356 |
455 |
454 |
909 |
3 |
272 |
329 |
357 |
686 |
4 |
314 |
271 |
293 |
564 |
5 |
314 |
377 |
421 |
798 |
6 |
340 |
466 |
487 |
953 |
7 |
240 |
294 |
311 |
605 |
8 |
271 |
379 |
383 |
762 |
9 |
290 |
351 |
378 |
729 |
10 |
74 |
99 |
87 |
186 |
11 |
234 |
281 |
290 |
571 |
12 |
187 |
210 |
234 |
444 |
13 |
224 |
281 |
320 |
601 |
รวมทั้งสิ้น |
3,340 |
4,096 |
4,333 |
8,429 |
สภาพภูมิประเทศ
ตำบลจำป่าหวาย มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และบางส่วนเป็นเนินเขา สภาพดินในพื้นที่ราบเป็นดินดำ และดินเหนียว ในส่วนของเนินเขามีสภาพเป็นดินลูกรัง
สภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนมิถุนายน สภาพอากาศร้อนอบอ้าว อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 40 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกชุกหนาแน่น ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยประมาณ 1,045.23 มิลลิลิตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีสภาพอากาศหนาว ถึงหนาวจัด อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 16 องศาเซลเซียส และลดต่ำลงจนถึง 6 องศาเซลเซียส
ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลจำป่าหวาย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว หอมแดง กระเทียม ฟักทอง ถั่วเขียว/เหลือง ยางพารา บางส่วนประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ มีอาชีพหัตถกรรมพื้นบ้าน และอุตสาหกรรมในครัวเรือน เมื่อพ้นฤดูเก็บเกี่ยว ประชากรที่เป็นเกษตรกรจะเตรียมเชื้อพันธุ์ในการปลูกหอมแดง กระเทียม ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของตำบล ต่อไป ร้อยละของการประกอบอาชีพของประชากรในตำบลจำป่าหวาย คิดได้ ดังนี้
- อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 80
- อาชีพค้าขาย ร้อยละ 5
- อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10
- อาชีพอื่น ๆ ร้อยละ 5
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย มีการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ดังนี้
- ปั๊มน้ำมันขนาดกลาง จำนวน 1 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก (ปั๊มหลอด) จำนวน 5 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก จำนวน 2 แห่ง
- โรงสีข้าว จำนวน 13 แห่งร้านค้า จำนวน 20 แห่ง
- ร้านค้า จำนวน 20 แห่ง
กลุ่มอาชีพ
ตำบลจำป่าหวาย มีผลิตภัณฑ์จากกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ดังนี้
- กลุ่มทำน้ำพริก
- กลุ่มจักสานไม้ไผ่
- กลุ่มเกษตรปลูกหอมแดง กระเทียม
- กลุ่มผลิตผ้าเช็ดเท้าและพรมเช็ดเท้า
- กลุ่มทำขนม
- กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า
- กลุ่มทำปุ๋ยหมัก
รายได้
ประชากรในพื้นที่ตำบลจำป่าหวาย มีรายได้ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 80 จากพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าว และหอมแดง กระเทียม ปีละประมาณ 81,000,000.00
การศึกษา
องค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย มีสถานศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ ดังนี้
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง
- โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 1 แห่ง
การสาธารณสุข
ตำบลจำป่าหวาย มีสถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ที่ทำการตำรวจตำบลจำป่าหวาย จำนวน 1 แห่ง
- ชุดรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้านๆละ 1 ชุด จำนวน 13 ชุด
- สมาชิกอาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 170 คน
ทรัพยากรธรรมชาติ
ตำบลจำป่าหวาย มีแหล่งน้ำ ประกอบด้วย
- แหล่งน้ำตามธรรมชาติ จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ แหล่งน้ำซับน้ำจำ
- แหล่งน้ำสาธารณะ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ หนองบึงหลวง , หนองบึงเสือ , ห้วยร่องขุย , ห้วยร่องค้านร่องขี้นา
ตำบลจำป่าหวาย มีพื้นที่ป่าชุมชุนประกอบด้วย
- ป่าชุมชนน้ำซับ – น้ำจำ จำนวนประมาณ 70 ไร่
- ป่าบริเวณวัดพระธาตุดอยน้อย จำนวนประมาณ 89 ไร่